วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การติดตา

การติดตา

คือ การเชื่อมประสานส่วนของต้นพืชเข้าด้วยกัน เพื่อให้เจริญเป็นพืชต้น เดียวกัน โดยการนำแผ่นตาจากกิ่งพันธุ์ดี ไปติดบนต้นตอ การติดตาจะมีวิธีการทำ 2 วิธี คือ วิธีการติดตาแบบลอกเนื้อไม้ และแบบไม่ลอกเนื้อไม้ ซึ่งในทีนี้จะแนะนำเฉพาะขั้นตอน การติดตาแบบลอกเนื้อไม้ ดังนี้





1. เลือกต้นตอในส่วนที่เป็นสีเขียวปนน้ำตาล แล้วกรีดต้นตอจากบนลงล่าง 2 รอย ห่างกันประมาณ 1 ใน 3 ของเส้นรอบวงของต้นตอ ความยาวประมาณ 6 - 7 เซนติเมตร





2. ตัดขวางรอยกรีดด้านบน แล้วลอกเปลือกออกจากด้านบนลงด้านล่าง ตัดเปลือก ที่ลอกออกให้เหลือด้านล่างยาวประมาณ 1 เซนติเมตร





3. เฉือนแผ่นตายาวประมาณ 7 - 10 เซนติเมตร ลอกเนื้อไม้ออกแล้วตัดแผ่นตา ด้านล่างทิ้ง





4. สอดแผ่นตาลงไปในเปลือกต้นตอ โดยให้ตาตั้งขึ้น แล้วพันด้วยพลาสติกให้แน่น





5. ประมาณ 7 - 10 วัน จึงเปิดพลาสติกออก แล้วพันใหม่ โดยเว้นช่องให้ตาโผล่ ออกมา ทิ้งไว้ประัมาณ 2 - 3 สัปดาห์ จึงตัดยอดต้นเดิมแล้วกรีดพลาสติกออก




การเสียบยอด

การเสียบยอด

คือ การเชื่อมประสานเนื้อเยื่อของต้นพืช 2 ต้นเข้าด้วยกัน เพื่อให้เจริญเติบโต เป็นต้นเดียวกัน โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้

1. ตัดยอดต้นตให้สูงจากพื้นดิน ประมาณ 10 เซนติเมตร แล้วผ่ากลางลำต้นของ ต้นตอให้ลึกประมาณ 3 - 4 เซนติเมตร





2. เฉือนยอดพันธุ์ดีเป็นรูปลิ่มยาวประมาณ 3 - 4 เซนติเมตร





3. เสียบยอดพันธุ์ดีลงในแผลของต้นตอ ให้รอยแผลตรงกัน แล้วใช้เชือกมัดด้านบน และล่างรอยแผลต้นตอให้แน่น





4. คลุมต้นที่เสียบยอดแล้วด้วยถุงพลาสติก หรือนำไปเก็บไว้ในโรงอบพลาสติก

5. ประมาณ 5 - 7 สัปดาห์ รอยแผลจะประสานกันดี และนำออกมาพักไว้ในโรง เรือนเพื่อรอการปลูกต่อไป






การปักชำ

การปักชำ


การปักชำ คือการใช้ส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ราก ใบ หรือ ลำต้น ไปปักชำ และส่วนของพืชเหล่านี้จะเจริญงอกงามเป็นลำต้นต่อไป

การปักชำเป็นวิธีขยายพันธุ์พืชที่ดีวิธีหนึ่งซึ่งมีข้อดี ดังนี้

1. ประหยัดค่าใช้จ่าย

2. ขยายพันธุ์ได้ปริมาณมาก

3. ทำได้ง่ายโดยไม่ต้องอาศัยเทคนิคหรือความสามารถมาก

4. ต้นพืชเจริญเติบโตเร็ว โดยใช้ระยะเวลาไม่นาน

5. พืชต้นใหม่ที่ได้จะมีลักษณะเหมือนต้นเดิมทุกประการ



วัสดุที่ใช้ในการปักชำ

กระบะ ดิน ทราบ แกลบ ปุ๋ยคอก ขุยมะพร้าว ใบไม้ผุ



การปักชำสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

1. การปักชำราก เป็นการเอารากของพืชมาปักชำ อาจปักลงไปในดิน ในทราย หรือในเถ้าแกลบก็ได้ เพื่อส่วนของรากนั้นงอกเป็นลำต้นต่อไป พืชที่ใช้รากปักชำ เช่น มันเทศ สน สาเก เข็มอินเดียเป็นต้น วิธีการชำรากทำได้ ดังนี้

1.1 ตัดรากไม้ออกเป็นท่อนๆ

1.2 วางรากบนดิน การปักชำรากไม่นิยมปักในแนวตั้ง แต่นิยมวางในแนวนอน หรือวางในแนวเฉียงเล็กน้อย





2. การปักชำใบ โดยทั่วไปแล้วใบจะแตกเป็นกิ่งไม่ได้ แต่มีพืชบางชนิดสามารถนำใบมาปักชำให้เจริญเติบโตเป็นต้นต่อไปได้ เช่น ลิ้นมังกร กุหลาบหิน คว่ำตายหงายเป็น เป็นต้น การปักชำใบมี 4 วิธี



วิธีที่ 1 การปักชำโดยใช้ใบ

ให้นำใบที่ไม่ใช่ใบอ่อนมาตัดเป็นส่วนๆ หรือทั้งใบแล้วนำไปวางเป็นวัสดุ เช่น ทราย หรือดิน โดยให้ด้านบนของใบหงายขึ้น พืชที่นิยม เช่น คว่ำตายหงายเป็น กุหลาบหิน



วิธีที่ 2 การปักชำโดยใช้ก้านใบ

ให้ตัดก้านใบให้หลุดออกจากกิ่งแล้วนำไปปักชำก็จะเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่ได้ เช่น กุหลาบหิน



วิธีที่ 3 การปักชำโดยใช้ก้านใบที่ส่วนของกิ่ง

ให้เอาใบมา โดยเฉือนส่วนของกิ่งให้มีตาติดมาด้วย (มิใช่นำมาทั้งกิ่ง) แล้วนำไปปักชำ ส่วนตาที่ติดมากับกิ่งก็จะเจริญเติบโตเป็นต้นต่อไป วิธีนี้นิยมใช้กับ ฟิโลเดนดรอน ต้นยางอินเดีย



วิธีที่ 4 การใช้ใบติดกิ่งมาปักชำ

ให้ตัดกิ่งที่จะนำมาปักชำ โดยกิ่งนั้นต้องมีตาเดียว และมีใบติดมาด้วยแล้วนำส่วนของกิ่งบางส่วนปักลงในดินให้ใบ และกิ่งส่วนหนึ่งโผล่ขึ้นมา เพียงเล็กน้อย พืชที่นิยมขยายพันธุ์แบบนี้ ได้แก่ ฟิโลเดนดรอน



การปักชำกิ่ง

เป็นวิธีที่นิยมกันมากและทำกันมานานแล้ว เราไม่จำเป็นต้องพิถีพิถันกับวัสดุที่ใช้ในการปักชำมากนัก ปัจจุบันนิยมกัน แพร่หลายเพราะประหยัดค่าใช้จ่าย ใช้ระยะเวลาสั้น และได้ลักษณะพันธุ์เดิม การปักชำกิ่งแบ่งเป็น 3 ประเภท

1. การปักชำกิ่งประเภทที่มีเนื้ออวบน้ำ เช่น ฤาษีผสม กิ่งชนิดนี้จะอ่อน บอบบาง และช้ำง่าย ฉะนั้นจึงต้องการความประณีต ในการปฏิบัติ คือต้องระวังในเรื่องความชื้น แสง และอุณหภูมิ

2. การปักชำกิ่งที่มีความแข็งของเนื้อไม้ปานกลาง เช่น ว่านกวนอิม อายุของกิ่งประมาณ 3 - 6 เดือน ผิวเปลือกของกิ่งมี สีอมเขียว ยังไม่เป็นสีน้ำตาล กิ่งประเภทนี้มีเนื้อไม้อ่อนไม่แข็งแรงนัก ฉะนั้นจึงควรระมัดระวังเรื่องน้ำ อุณหภูมิ และแสงสว่างให้มาก เพราะกิ่งประเภทนี้จะเหี่ยวแห้งได้ง่าย

2. การปักชำไม้ที่มีอายุเกิน 1 ปีขึ้นไป วิธีนี้นิยมกันมาก การเลือกกิ่งไม้ที่จะนำมาปักชำ ควรเลือกกิ่งที่มีสีน้ำตาล ก่อนปักชำควร ปักกิ่งชำให้มีตาอย่างน้อย 2-3 ตา การตัดควรตัดเป็นท่อน ๆ ขนาด ยาว 6-8 เซนติเมตร การตัดท่อนปลายกิ่งให้ตัดเหนือข้อ ส่วนท่อนโคนให้ตัดต่ำกว่าข้อ โดยตัดให้เฉียง เราไม่ควรตัดตรงข้อพอดี เพราะจะทำให้กิ่งสูญเสียอาหารไป นอกจากนี้ บริเวณข้อยังมีเนื้อเยื่อ อัดตัวแน่นและแข็งแรง ช่วยป้องกันการระเหยของน้ำในกิ่งได้เป็นอย่างดี



การเตรียมกระบะชำ

ควรทำกระบะ ขนาดกว้าง 50 เซนติเมตร ยาว 50 เซนติเมตร สูง 20 เซนติเมตรชั้นล่างวางอิฐหรือกรวด ชั้นบนใส่ทรายหยาบหรือเถ้าแกลบให้เหลือขอบกระบะไว้ 5 เซนติเมตร รดน้ำให้ชุ่มการปักชำกิ่ง หรือยอด ควรหาไม้สำหรับใช้ในการนำร่องก่อน ปักทำมุม 45 องศา แล้วจึงนำกิ่งที่จะปักชำใส่ลงไป ให้ส่วนโคนที่ตัดเป็นรูปเฉียงตรงรอยตัดคว่ำลง ให้ส่วนยอดโผล่พ้นวัสดุชำอย่างน้อย 1-2 ตา การดูแลกิ่งชำ รดน้ำกิ่งชำให้ชุ่ม เช้า เย็น ทุกวันจะช่วยให้กิ่งปักชำออกรากได้ดี เมื่อปักชำไปได้ประมาณ 3-4 สัปดาห์ รากจะงอก จึงย้ายไปปลูกในแปลง หรือในกระถางที่เตรียมไว้โดยใช้ช้อนปลูกแซะ หรือตักไปปลูก

การทาบกิ่ง

การติดตา


เป็นการต่อต้นพืชแบบหนึ่งที่ใช้กิ่งพันธุ์ดีเพียงตาเดียว พอจะแบ่งวิธีติดตาโดยเฉพาะวิธีที่ใช้กันทั่วๆ ไปได้ ๓ วิธี คือ



๑. การติดตาแบบตัวที (T. budding)

สิ่งที่ต้องพิจารณาในการติดตาต้นพืชแบบ ตัวที

๑. ต้นตอจะต้องมีเปลือกล่อนสามารถลอกเปลือกต้นตอได้ง่าย

๒. ต้นตอไม่ควรมีขนาดโตเกินไป ควรจะมีขนาดเท่าดินสอดำหรือมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณไม่เกิน ๑/๒ นิ้ว

๓. ไม่เป็นพืชที่มีเปลือกบาง หรือเปลือกเปราะ หรือมีเปลือกหนาเกินไป

๔. เป็นวิธีที่ใช้ในการติดตาต้นพืชทั่วๆ ไปเช่น ใช้กับกุหลาบ พุทรา ส้ม เป็นต้น

วิธีติดตาแบบตัวที

ก. การเตรียมแผลบนต้นตอ

๑. เลือกต้นตอบริเวณที่เป็นปล้องแล้วกรีดเปลือกให้ถึงเนื้อไม้เป็นรูปตัวที (T) โดยให้หัวของตัวทีที่กรีดยาวประมาณ ๑/๒ นิ้ว และความยาวของตัวทียาว ๑ - ๑ ๑/๒ นิ้ว ทั้งนี้แล้วแต่ขนาดของต้นตอ

๒. ใช้ปลายมีดแงะบริเวณหัวตัวทีให้เปลือกเผยอเล็กน้อย แล้วล่อนเปลือกของต้นตอด้วยปลายเขาที่ติดอยู่ที่ด้ามมีด

ข. การเตรียมกิ่งพันธุ์ดี

๑. เฉือนกิ่งพันธุ์ดีเป็นรูปโล่ให้ติดเนื้อไม้เล็กน้อย ในกรณีที่พืชนั้นมียางควรจะลอกเนื้อไม้ทิ้งเพื่อให้มีบริเวณของการเกิดรอยต่อมากขึ้น

ค. การสอดกิ่งพันธุ์ดีบนต้นตอ

๑. สอดแผ่นตาลงบนแผลรูปตัวทีที่เตรียมไว้ แล้วค่อยๆ กดแผ่นตาลงไปในแผลให้สนิท และลึกราว ๑/๒ นิ้ว เหนือตา

๒. ถ้าเปลือกแผ่นตายังเหลือเลยหัวตัวทีให้ตัดส่วนที่เหลือออกพอดีกับหัวตัวที

๓. ใช้ผ้าพลาสติกที่ตัดเป็นชิ้นขนาดกว้าง๑-๑.๕ ซม. ยาวราว ๒๐-๒๕ ซม. พันทับแผ่นตาให้แน่น และควรพันจากข้างล่างขึ้นข้างบน

๔. หลังจาก ๑๐ วัน จึงตรวจ ถ้าตาใดยังสดก็แสดงว่าติด จึงเปิดผ้าพันตาแล้วพันใหม่ให้คร่อมตา



๒. การติดตาแบบชิพ (chip budding)

สิ่งที่ต้องพิจารณาในการติดตาแบบชิพก็คือ

๑. เป็นวิธีที่ใช้ในการติดตาต้นพืชที่ลอกเปลือกไม่ได้ เป็นพืชที่มีเปลือกบางหรือเปลือกหนาหรืออยู่ในระยะพักตัว

๒. มักใช้กับพืชที่ไม่มียาง และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นตอประมาณ ๒/๓ - ๑/๒ นิ้ว

๓. มักใช้ในการติดตา องุ่น ชบา ฯลฯ

วิธีติดตา ปฏิบัติดังนี้ (modified chip)

ก. การเตรียมแผลบนต้นตอ

๑. เลือกต้นตอที่เปลือกติด หรือที่ชะงักการเจริญ

๒. เฉือนต้นตอเฉียงลงให้เข้าเนื้อไม้เล็กน้อย และยาวประมาณ ๑ นิ้ว

๓. เฉือนตัดขวางให้จดโคนแผลที่เฉือนครั้งแรก โดยให้รอยเฉือนนี้ทำมุม ๔๕° กับลำต้นแล้วแกะชิ้นส่วนของพืชที่เฉือนออก

ข. การเตรียมกิ่งพันธุ์ดี

เฉือนแผ่นตาบนกิ่งพันธุ์ดีให้มีความยาวเท่ากับรอยแผลที่เตรียมบนต้นตอ โดยกะให้ตาอยู่ตรง

กลางพอดี

ค. การสอดแผ่นตา

๑. ประกบแผ่นตาบนต้นตอ โดยให้เยื่อเจริญด้านใดด้านหนึ่ง หรือทั้งสองด้านสัมผัสกับเยื่อเจริญของต้นตอ

๒. ใช้ผ้าพลาสติกพันตา เช่นเดียวกับการติดตาแบบตัวที



๓. การติดตาแบบเพลท (Plate budding)

สิ่งที่ต้องพิจารณาในการติดตาแบบเพลท คือ

๑. มักใช้กับต้นตอที่มีขนาดโต คือ มีเส้นผ่านศูนย์กลางราว ๑/๒ - ๑ นิ้ว

๒. ต้นตอต้องลอกเปลือกได้หรือมีเปลือกล่อน

๓. เป็นพืชที่มีเปลือกหนาและเหนียวพอสมควร

๔. นิยมใช้กับพืชมียาง เช่น มะม่วง ขนุนยางพารา หรือพืชบางชนิดที่เกิดเนื้อเยื่อช้า เช่นมะขามหรือน้อยหน่า เป็นต้น

วิธีติดตาแบบเพลท

ก. การเตรียมแผลบนต้นตอ

๑. เลือกต้นตอบริเวณที่จะทำแผลให้เป็นปล้องที่เรียบและตรง

๒. กรีดเปลือกต้นตอถึงเนื้อไม้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าฐานเปิดดังภาพ

๓. เผยอเปลือกต้นตอออกจากเนื้อไม้ ทางด้านบนหรือด้านล่างของรอยกรีด แล้วลอกเปลือก ขึ้นหรือลงตามรอยกรีดที่เตรียมไว้แล้ว

ข. การเตรียมกิ่งพันธุ์ดี

เฉือนแผ่นตากิ่งพันธุ์ดีให้เป็นรูปโล่ ยาวประมาณ ๑ นิ้ว แล้วแกะเนื้อไม้ออก

ค. การสอดแผ่นตาบนแผลของต้นตอ

๑. ประกบแผ่นตาลงบนแผลของต้นตอ จัดแผ่นตาให้อยู่กลางแผลแล้วประกบแผ่นเปลือกของต้นตอทับแผ่นตา แต่ถ้าใช้ตาอ่อนจะต้องตัดแผ่นเปลือกต้นตอตอนบนออก ๓ ส่วนเหลือไว้ ๑ ส่วน

๒. พันผ้าพลาสติกเช่นเดียวกับการติดตาแบบตัวทีหรือแบบชิพ และต้องใช้พลาสติกใส เมื่อใช้ตาอ่อน



[กลับหัวข้อหลัก]



แผ่นตาที่ติดเรียบร้อยแล้ว











เฉือนแผ่นตาในกิ่งพันธุ์ดี











สอดแผ่นตาบนแผลต้นตอ










เฉือนกิ่งพันธุ์ดี









ประกบแผ่นตาลงบนแผลของต้นตอ




การตอนกิ่ง

                                                                  การตอนกิ่ง

คือ การทำให้กิ่งหรือต้นพืชเกิดรากขณะติดอยู่กับต้นแม่ จะทำให้ได้ต้นพืชใหม่ ที่มีลักษณะทางสายพันธุ์ เหมือนกับต้นแม่ทุกประการ โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
1. เลือกกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนที่สมบูรณ์ปราศจากโรคและแมลง




 
2. ควั่นกิ่ง ลอกเอาเปลือกออก แล้วขูดเยื่อเจริญที่เป็นเมือกลื่น ๆ ออก





 

3. นำตุ้มตอน (ขุยมะพร้าวที่แช่น้ำ แล้วบีบหมาด ๆ อัดลงในถุงพลาสติก ผูกปากถุงให้แน่น) มาผ่าตามความยาวแล้วนำไปหุ้มบนรอยแผลของกิ่งตอน มัดด้วยเชือกทั้งบนและล่างรอยแผล





4. เมื่อกิ่งตอนมีรากงอกแทงผ่านวัสดุ และเริ่มแก่เป็นสีเหลือง สีน้ำตาล ปลายรากมีสีขาว และมีจำนวนมากพอจึงตัดกิ่งตอนได้





5. นำกิ่งตอนไปชำในภาชนะ กระถางหรือถุงพลาสติก เพื่อรอการปลูกต่อไป




วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บุรีรัมย์เจ๋งสยบกิเลน1-0,ทีทีเอ็มหืดเชือดแข้งเทพ2-1



บุรีรัมย์เจ๋งสยบกิเลน1-0,ทีทีเอ็มหืดเชือดแข้งเทพ2-1
"ปราสาทสายฟ้า" บุรีรัมย์ พีอีเอ ยังแกร่งในบ้าน หลังพลิกโค่นจ่าฝูง "กิเลนผยอง" เมืองทองฯ ยูไนเต็ด 1-0 โดยได้ประตูชัยจาก ดั๊กลาส คาร์โดโซ่ ตั้งแต่ช่วงต้นครึ่งหลัง ขณะที่ "สิงห์เหนือ" ทีทีเอ็ม เอฟซี พิจิตร หืดจับก่อนเชือด "แข้งเทพ" แบงค็อก ยูไนเต็ด หวิว 2-1 ศึกลูกหนัง ไทยพรีเมียร์ลีก เมื่อวันที่ 22 ส.ค. ที่ผ่านมา