วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

ประวัติคอมพิวเตอร์

ไมโครโปรเซสเซอร์
   ไมโครโปรเซสเซอร์โดยทั่วไปจะหมายถึง CPU หรือหน่วยประมวลผลกลางของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยส่วนหลัก ๆ คือ หน่วยคำนวณและตรรกะ หรือ ALU (Arithmetic Logic Unit) ซึ่งทำหน้าที่ในการจัดการด้านคณิตศาสตร์ เช่น การบวก ลบ คูณ หาร รวมถึงการจัดการในเชิงตรรกศาสตร์ เช่น การเปรียบเทียบตามเงื่อนไข และกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่า เงื่อนไขนั้น เป็นจริงหรือเท็จ เช่น เปรียบเทียบเงื่อนไขของจำนวน 2 จำนวน ว่ามากกว่า น้อยกว่า เท่ากับ ไม่เท่ากับ เป็นต้น ซึ่งการเปรียบเทียบลักษณะนี้จะใช้ในการเลือกทำงานของระบบคอมพิวเตอร์
ช่วงปี ค.ศ. 1930 ถึงช่วงปี ค.ศ. 1940 เป็นช่วงที่โลกได้มีคอมพิวเตอร์ที่สามารถโปรแกรมได้และคำนวณผลลัพธ์ได้มีประสิทธิภาพจริง แต่เป็นการยากที่จะตัดสินได้ว่าคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกเกิดในปีใดและประดิษฐ์โดยใคร เนื่องจากคอมพิวเตอร์ในช่วงแรกๆ ยังไม่สามารถทำงานได้สมบูรณ์อย่างแท้จริง โดย

ค.ศ. 1936 เป็นครั้งแรกที่โลกได้มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่สามารถตั้งโปรแกรมได้อย่างอิสระ ผู้พัฒนาคือ Konrad Zuse และชื่อคอมพิวเตอร์คือ Z1 Computer
ค.ศ. 1942 จอห์น อตานาซอฟฟ์ และ คลิฟฟอร์ด เบอร์รี ที่ มหาวิทยาลัยไอโอวาสเตต ได้ร่วมกันสร้าง คอมพิวเตอร์ อตานาซอฟฟ์-เบอร์รี ซึ่งสามารถประมวลผลเลขฐานสอง
ค.ศ. 1946 John Presper Eckert และ John W. Mauchly ได้ร่วมกันสร้างอีนิแอก ซึ่งใช้หลอดสูญญากาศจำนวน 20,000 หลอด เพื่อสร้างหน่วยประมวลผล และถือได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกสำหรับการใช้งานทั่วไป โดยมีการประมวลผลแบบทศนิยม โดยหากต้องการตั้งโปรแกรมจะต้องต่อสายเชื่อมต่อเครื่องอุปกรณ์ใหม่ทั้งหมด
ค.ศ. 1948 Frederic Williams และ Tom Kilburn สร้างคอมพิวเตอร์ที่ใช้ หลอดรังสีคาโทด เป็นหน่วยความจำ
ค.ศ. 1947 ถึง 1948 John Bardeen, Walter Brattain และ Wiliam Shockley สร้างคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทราสซิสเตอร์ ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สำคัญ
ค.ศ. 1951 John Presper Eckert และ John W. Mauchly ได้พัฒนา UNIVAC Computer ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่มีการขาย
ค.ศ. 1953 ไอบีเอ็ม (IBM) ออกจำหน่าย EDPM เป็นครั้งแรก และเป็นก้าวแรกของไอบีเอ็มในธุรกิจคอมพิวเตอร์
ค.ศ. 1954 John Backus และ IBM ร่วมกันสร้างภาษาคอมพิวเตอร์ชื่อ FORTRAN ซึ่งเป็นภาษาระดับสูง (high level programming language) ภาษาแรกในประวัติศาสตร์คอมพิวเตอร์
ค.ศ. 1955 (ใช้จริง ค.ศ. 1959) สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด, ธนาคารแห่งชาติอเมริกา, และ บริษัทเจเนอรัลอิเล็กทริก ร่วมกันสร้าง ERMA และ MICR ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกในธุรกิจธนาคาร
ค.ศ. 1958 Jack Kilby และ Robert Noyce เป็นผู้สร้าง Integrated Circuit หรือ ชิป(Chip) เป็นครั้งแรก
ค.ศ. 1962 สตีฟ รัสเซลล์ และ เอ็มไอที ได้พัฒนาเกมคอมพิวเตอร์เป็นครั้งแรกของโลกชื่อว่า "Spacewar"
ค.ศ. 1964 Douglas Engelbart เป็นผู้ประดิษฐ์เมาส์ และ ระบบปฏิบัติการแบบวินโดวส์
ค.ศ. 1969 เป็นปีที่กำเนิด ARPAnet ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของอินเทอร์เน็ต
ค.ศ. 1970 อินเทล] พัฒนาหน่วยความจำชั่วคราวของคอมพิวเตอร์หรือ RAM เป็นครั้งแรก
ค.ศ. 1971 Faggin, Hoff และ Mazor พัฒนาไมโครโปรเซสเซอร์ตัวแรกของโลกให้อินเทล (Intel)
ค.ศ. 1971 Alan Shugart และ IBM พัฒนา ฟลอปปี้ดิสก์ เป็นครั้งแรก
ค.ศ. 1973 Robert Metcalfe และ Xerox ได้พัฒนาระบบอีเทอร์เน็ต (Ethernet) สำหรับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ค.ศ. 1974 ถึง ค.ศ. 1975 Scelbi และ Mark-8 Altair และ IBM ร่วมกันวางจำหน่ายคอมพิวเตอร์สำหรับผู้ใช้รายย่อยเป็นครั้งแรก
ค.ศ. 1976 ถึง ค.ศ. 1977 ถือกำเนิด Apple I, II และ TRS-80 และ Commodore Pet Computers ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลรุ่นแรกๆ ของโลก
ค.ศ. 1981 ไมโครซอฟท์ วางจำหนาย MS-DOS ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมที่สุดในช่วงนั้น
ค.ศ. 1983 บริษัทแอปเปิล ออกคอมพิวเตอร์รุ่น Apple Lisa ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์รุ่นแรกที่ใช้ระบบ GUI
ค.ศ. 1984 บริษัทแอปเปิล วางจำหน่ายคอมพิวเตอร์รุ่น แอปเปิล แมคอินทอช ซึ่งทำให้มีการใช้คอมพิวเตอร์อย่างกว้างขวาง
ค.ศ. 1985 ไมโครซอฟท์ วางจำหน่าย ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ เป็นครั้งแรก
23 มกราคม
คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่มนุษย์ได้คิดประดิษฐ์ขึ้น เพื่อนำมาเสริมความสามารถของมนุษย์ในด้านการับรู้ การจำ การคำนวณ การเปรียบเทียบตัดสินใจและการแสดงออก ดังนั้นคอมพิวเตอร์จึงมีโครงสร้างที่ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ให้สามารถทำงาน เป็นระบบสนองความต้องการของมนุษย์
การประมวลผลข้อมูลของคอมพิวเตอร์จะประกอบด้วยอุปกรณ์รับเข้า (input device) เพื่อรับข้อมูลและคำสั่งจากผู้ใช้ภาย นอกเข้าไปเก็บอยู่ในอุปกรณ์เก็บข้อมูล    หรือหน่วยความจำหลัก (main memory) คำสั่งที่เก็บในส่วนความจำหลักจะถูกนำไปตีความ และสั่งทำงานที่หน่วยประมวลผลกลาง ที่เรียกว่า ซีพียู ซึ่งเป็นหัวใจของการทำงานในคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่คำนวณและเปรียบเทียบข้อมูลที่เก็บในหน่วยความจำหลัก ผลจากการคำนวณหรือประมวลผลจะนำกลับไปเก็บยังหน่วยความจำหลัก และพร้อมที่จะนำออกแสดงที่อุปกรณืส่งออก (output device) กลับไปสู่ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ต่อไป ดังนั้นระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย ซีพียู หน่วยความจำ อุปกรณ์รับเข้า และอุปกรณ์ส่งออก แยกเป็นดังนี้
         -ส่วนรับข้อมูล(input)          
         -ส่วนแสดงผล(output)    
  
                                           อุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์

                                              
                             Power Supply                          VGA Card
                                       Mainboard                                Sound Card
                                       CPU                                            Lan Card
                                       Chipset                                     Hard Disk
                                       bios                                           CD Rom
                                       Ram                                           Floppy Disk 
                      ลักษณะอาการเสียเบื้องต้นของคอมพิวเตอร์ 

ลักษณะอาการเสียของเครื่องคอมพิวเตอร์ เราสามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่มอาการ ดังนั้นในการตรวจหาสาเหตุของอาการเสีย ก็ให้ดูว่าเป็นอาการเสียที่อยู่ในกลุ่มใดดังนี้
1. ตรวจสอบอาการเสียของเครื่องจากเสียง Beep Code      ทุก ๆ ครั้งที่คุณเปิดใช้งานเครื่องครั้งแรก ก็จะได้ยินเสียง ปี๊ป ดังสั้น ๆ 1 ครั้ง แล้วเครื่องก็จะทำงานต่อตามปกติ แต่ถ้าเมื่อไรที่คุณได้ยินสียงมากกว่า 1 ครั้ง หรือมีเสียงดังยาว ๆ จากนั้นเครื่องก็หยุดนิ่ง ก็ทำใจไว้ได้เลยว่าเครื่องของคุณมีปัญหาแล้ว เมื่อคุณเจออาการแบบนี้ให้รีบปิดเครื่องทันที เพราะตราบใดที่เครื่องยังไม่ได้รับการแก้ไข ก็จะไม่สามารถใช้งานเครื่องได้จนกว่าจะแก้ปัญหาเสียก่อน เสียงปี๊ปที่เราได้ยินนี้จะถูกเรียกว่า Beep Code ซึ่งจะมีจำนวนครั้งไม่เท่ากัน และมีเสียงดังสั้นบ้างยาวบ้าง ลักษณะของเสียงที่แตกต่างกันนี้เองที่บอกเราว่า อุปกรณ์ชิ้นไหนมีปัญหา ดังนั้นถ้าเจอปัญหาลักษณะนี้ก็ต้องลองฟังให้ดีว่า ดังกี่ครั้ง สั้นยาวแบบไหน แล้วนำไปเทียบดูในตารางไบอสตามยี่ห้อของไบออส เพื่อจะรุ้ว่าอะไรคือต้นเหตุ แล้วจะได้หาทางแก้ไขต่อไป

2. ตรวจสอบอาการเสียของเครื่องโดยดูจากข้อความที่แจ้งบนหน้าจอ
      การแจ้งปัญหาหรือความผิดปกติที่เครื่องตรวจพบด้วยข้อความบนหน้าจอ ซึ่งเราเรียกว่า Message Error นับป็นการแจ้งปัญหาอีกแบบหนึ่งที่มีประโยชน์ เพราะเราสามรถรู้ปัญหาได้ทันทีว่าอปกรณ์ตัวไหนทำงานผิดปกติ หรือไม่ก็รู้ว่าการทำงานส่วนใดมีปัญหา ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางในการแก้ปัญหาที่ง่ายขึ่น ตัวอย่างของข้อความที่ปรากฎให้เห็นบนหน้าจอบ่อย ๆ อย่างเช่น
CMOS checksum Error
CMOS BATTERY State Low
HDD Controller Failure
Diskplay switch not proper
    ดังนั้นถ้าคุณพบว่าเครื่องได้แจ้งปัญหาให้ทราบก็ให้รับหาทางแก้ไขโดยด่วน แต่ถ้าไม่สามารถแก้ไขได้ก็ให้จดข้อความบนหน้าจอไว้ เพื่อเอาไว้สอบถามผู้ที่สามารถให้คำแนะนำได้หรือเอาไวให้ช่างที่ร้านซ่อมดูก็ได้ เพื่อให้การตรวจซ่อมทำได้เร็วขึ้น

3. ตรวจสอบอาการเสียโดยดูจากความผิดปกติของเครื่องที่สามารถสังเกตุ
    วิธีนี้คงต้องใช้ทักษะ ความรู้ และความชำนาญมากกว่า 2 แบบแรก เพราะจะเป็นอาการที่เครื่องไม่ได้มีอะไรแจ้งให้เราทราบเลยว่าอุปกรณ์ชิ้นไหนมีปัญหาหรือเสียหาย มีแต่ความผิดปกติที่เราสามารถสังเกตุได้ทางกายภาพ อย่างเช่น เปิดสวิตซ์แล้วไฟไม่ติด , เสียบปลั๊กแล้วเครื่องก็เปิดทันที , เปิดใช้เครื่องได้ไม่ถึง 5 นาที ระบบก็ล่ม เป็นต้น จะเห็นว่าอาการดังกล่าวนี้เครื่องไม่ได้แจ้งอะไรให้เราทราบเลยนอกจากอาการผิดปกติที่เรารับรู้ได้ ดังนั้นในการแก้ปัญหาในลักษณะนี้จึงจะต้องอาศัยผู้ที่มีประสบการณ์หรือช่างผู้ชำนาญ จึงจะสามารถวิเคราะห์ตรวบสอบ และทำการซ่อมแซมแก้ปัญหาได้

4. ตรวจสอบอาการเสียที่เราสามารถระบุอุปกรณ์ได้เลย
    ปัญหาแบบนี้จะเป็นกับอุปกรณ์ที่เราใช้อยุ่เป็นประจำแต่ถ้าอยุ่ ๆ ไม่สามารถทำงาน หรือทำงานได้ไม่ดี เราก็รู้ได้ทันทีว่าอะไรเสีย อย่างเช่น ไดรว์ซีดีรอมไม่ทำงาน ภาพบนจอสั่นหรือกระพริบ ไดรว์ A ไม่ยอมอ่านแผ่น เป็นต้น จะเห็นว่าเป็นปัญหาที่เกิดจากความผิดปกติของอุปกรณ์ชิ้นนั้น ๆ โดยตรง การตรวจสอบหรือตรวจเช็คจึงทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยากเหมือน 3 แบบที่ผ่านมา

5. ตรวจสอบอาการเสียที่เกิดจากการอัพเกรดอุปกรณ์ ไปจนถึงการปรับแต่งเครื่อง
    สิ่งที่ทำให้เครื่องเกิดปัญหาอีกอย่างก็คือ การเพิ่มเติม ปรับเปลี่ยนหรือปรับแต่งอุปกรณ์บางตัวก็ทำไห้เกิดปัญหาได้อีกเหมือนกัน เช่น อัพเกรดแรมแล้วเครื่องแฮงค์ Overclock ซีพียูจนไหม้ , ปรับ BOIS แล้วเครื่องรวน เป็นต้น จะเห็นว่าในสภาพเครื่องก่อนกระทำใด ๆ ยังทำงานได้ปกติอยุ่ แต่หลังจากที่มีการอัพเกรดหรือปรับแต่งเครื่องแล้วก็มีปัญหาตามมาทันที แล้วคุณจะทำอย่างไร
 
                                             
 
สรุปอาการเสียและการแก้ไขปํญหาที่เสี่ยบ่อย
          อาการเสียของคอมพิวเตอร์นั้นมีหลายสาเหตุ สามารถวิเคราะห์อาการเสียเบื้องต้นได้ดังนี้
อาการ บูตเครื่องขึ้นมาแล้ว ทุกอย่างไม่ทำงานและเงียบสนิท
      ให้ตรวจสอบที่พัดลมด้านท้ายเครื่องว่าหมุนหรือไม่ หากไม่หมุนอาจเป็นไปได้ว่าปลั๊กไฟเสีย หรืออาจขาดใน และให้เข้าไปเช็คที่ฟิวส์ของเพาเวอร์ซัพพลาย หากฟิวส์ขาดให้ซื้อฟิวส์รุ่นเดียวกันมาเปลี่ยน แต่ถ้าเพาเวอร์ซัพพลายเสีย ควรแนะนำลูกค้าให้เปลี่ยนเพาเวอร์ซัพพลายใหม่

อาการ บูตเครื่องแล้วจอมืด แต่ไฟ LED หน้าจอและไฟเคสติด
      ให้ตรวจสอบที่ปุ่มการปรับสีและแสงที่หน้าจอก่อน จากนั้นจึงเช็คในส่วนของขั้วสายไฟ และขั้วสายสัญญาณระหว่างเคสและจอภาพ หรือไม่ก็อาจเป็นเพราะเสียบการ์ดจอไม่แน่นหากตรวจเช็คอาการเหล่านี้แล้ว ทุกอย่างเป็นปกติดีสาเหตุน่าจะเกิดจากการ์ดแสดงผล และจอภาพ ให้นำอุปกรณ์ทั้ง 2 ตัวไปลองกับอีก เครื่องหนึ่งที่ทำงานเป็นปกติ หากการ์ดแสดงผลเสียต้องส่งเคลมหรือให้ลูกค้าเปลี่ยนใหม่ แต่ถ้าเป็นจอภาพ ให้ตรวจเช็คอาการอีกครั้ง ถ้าซ่อมได้ก็ควรซ่อม

อาการ บูตเครื่องแล้วมีไฟที่หน้าเคสและไฟฟล็อบปี้ไดรฟ์ แต่จอมืดและทุกอย่างเงียบสนิท
      ให้ตรวจสอบที่การเชื่อมต่อระหว่างขั้วต่อสายไฟของเพาเวอร์ซัพพลายกับเมนบอร์ดถูกต้องหรือไม่ หลุดหลวมหรือเปล่าตรวจสอบสายแพที่เชื่อมต่อกับขั้วต่อ IDE ของฮาร์ดดิสก์, ฟล็อบปี้ดิสก์ และซีดีรอม ถูกต้องหรือไม่ หลุดหลวมหรือไม่
ตรวจสอบการติดตั้งซีพียูว่าใส่ด้านถูกหรือไม่ ซีพียูเสียหรือไม่
ตรวจสอบจัมเปอร์หรือดิปสวิทช์ และการเข้าไปเปลี่ยนแปลงค่าในไบออสว่ามีการกำหนดค่าที่ถูกต้องหรือไม่ โดยเฉพาะค่าแรงดันไฟ Vcore

อาการ ที่จอภาพแสดงข้อความผิดพลาดว่า HDD FAILURE
ตรวจสอบการตั้งค่าในไบออสว่าถูกต้องหรือไม่
ตรวจสอบขั้วต่อ IDE ว่ามีการเสียบผิดด้านหรือไม่ หลุดหลวมหรือเปล่า
ตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ว่าเสียหรือไม่ โดยเข้าไปในเมนูไบออส และใช้หัวข้อ IDE HDD Auto Detection ตรวจหาฮาร์ดดิสก์ ถ้าไม่เจอแสดงว่าฮาร์ดดิสก์มีปัญหาแต่หากเจอแสดงว่าฮาร์ดดิสก์ปกติดี

 
                                            





วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

วงจรไฟ้ฟ้าอย่างง่าย

1 รูปแบบของวงจรไฟฟ้าภายในบ้าน
..........วงจรไฟฟ้าภายในบ้าน หมายถึง ทางเดินของกระแสไฟฟ้าที่จะไหลไปตามส่วนต่าง ๆ ของวงจรที่เป็นตัวนำ

.......... การต่อวงจรไฟฟ้าในบ้าน หมายถึง การต่อความต้านทาน ซึ่งมีอยู่ 3 แบบ คือ

.......... 1.1 การต่อความต้านทานแบบอันดับ หรือแบบอนุกรม
..................... เป็นการต่อความต้านทานเรียงกันไปตามลำดับ โดยที่ปลายสายของความต้านทานหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (หลอด) ของตัวที่หนึ่งต่อกับต้นสายของ
ความต้านทานหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (หลอด) ของตัวที่สอง และอีกปลายหนึ่งของความต้านทานหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าตัวที่สองต่อกับต้นสายของความต้านทาน หรือ
อุปกรณ์ตัวที่สามเรียงต่อกันไปอย่างนี้จนครบวงจร
1.3 การต่อความต้านทานแบบผสม .........เป็นการต่อความต้านทานที่มีทั้ง 2 แบบในวงจรเดียวกัน
2. อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านที่จำเป็น
.....2.1 อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ภายในบ้าน

................2.1.1 เต้าเสียบ หรือเต้ารองรับ เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้เป็นจุดต่อของวงจรอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน เพื่อความสะดวกในการใช้งาน
เต้าเสียบที่ใช้ในบ้านเราจะมี 2 ช่อง แต่เต้าเสียบที่จะช่วยให้เกิดความปลอดภัยมากคือ เต้าเสียบแบบ 3 ช่อง เพราะช่องที่ 3 จะต่อกับสายดิน ซึ่งจะช่วย
ให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งาน
..............ลูกเสียบนี้จะต่อกับปลายสายไฟฟ้าที่ต่อเข้าอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ จะต้องต่อสายไฟเข้าขั้วต่อสายอย่างแข็งแรงและถูกต้องตามวิธี คือ ภายใน
จะต้องผูกปมอย่างถูกวิธี



...............2.1.3 สวิตช์ไฟฟ้า.... เป็นอุปกรณ์สำหรับปิด-เปิดวงจรไฟฟ้า สวิตช์ไฟฟ้าที่ใช้ตามบ้านมีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับบริษัทที่ผลิต
แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ แบบฝัง (ใช้ฝังในผนัง) แบบที่ 2 แบบไม่ฝัง หรือเรียกว่า แบบลอย (Surface Switches) คือ ติดตั้งบนผนัง นิยม
ใช้ในอาคาร ตามชนบททั่วไป เพราะราคาถูกและติดตั้งง่ายกว่าแบบฝัง

คุณสมบัติของวงจรแบบอันดับหรืออนุกรม
1. กระแสไฟฟ้าไหลผ่านความต้านทานแต่ละตัวมีค่าเท่ากัน

2. แรงดันกระแสไฟฟ้าของวงจรทั้งหมดเท่ากัน แรงดันกระแสไฟฟ้าตกคร่อมของแต่ละความต้านทานรวมกัน
1.2 การต่อความต้านทานแบบขนาน
......... การต่อความต้านทานแบบขนาน เป็นการต่อสายของความต้านทานแต่ละตัวไว้ที่เดียวกัน และปลายสายอีกด้านหนึ่งต่อร่วมกันไว้ที่เดียวกัน
คุณสมบัติของการต่อวงจรแบบขนาน

1. ความต้านทานแต่ละตัวได้รับแรงดันกระแสไฟฟ้าเท่ากัน

2. กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านความต้านทานแต่ละตัวมีค่าไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้านทานนั้น ๆ คือ ถ้ามีความต้านทานมาก
....กระแสไฟฟ้าจะไหลได้น้อย ถ้ามีความต้านทานน้อยกระแสไฟฟ้าจะไหลได้มาก

3. ผลรวมของกระแสไฟฟ้าที่แยกไหลผ่านแต่ละความต้าน เมื่อรวมกันแล้วจะเท่ากับกระแสไฟฟ้าของวงจร

4. ความต่างศักย์ไฟฟ้าบนความต้านทานแต่ละเส้น จะมีค่าเท่ากัน และเท่ากับความต่างศักย์ไฟฟ้ารวมทั้งวงจร
วงจรไฟฟ้าภายในบ้านนิยมแบบขนาน เนื่องจากถ้ามีอุปกรณ์ไฟฟ้าตัวใดตัวหนึ่งขาด อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เหลือก็จะใช้งานได้
1.4 แผนผังการต่อวงจรไฟฟ้าในบ้าน ......การต่อไฟฟ้าในบ้านเริ่มต้นจากสายไฟฟ้าใหญ่ลงมาที่มาตรไฟฟ้าจากมาตรไฟฟ้าต่อเข้า
...........คัตเอาท์และฟิวส์ สายที่ต่อจากฟิวส์เป็นสายประธาน ซึ่งสามารถต่อแยกไปยังส่วนต่าง ๆ ของอาคารได้

...........2.1.2 ลูกเสียบ (ปลั๊กเสียบ).... เป็นอุปกรณ์ที่ต่อกับสายของเครื่องใช้ไฟฟ้า มี 2 แบบ คือ ลูกเสียบแบบ 2 ขา ซึ่งจะใช้กับเต้าเสียบ 2 ช่อง
กับลูกเสียบแบบ 3 ขา ซึ่งจะใช้กับเต้าเสียบที่มี 3 ช่อง
.........การต่อสวิตช์ไฟฟ้าจำเป็นต้องต่อให้ถูกวิธี คือ จะต้องต่อสายมีไฟเข้าสวิตช์ เพราะเมื่อปิดไฟ (Close switch) แล้วสามารถซ่อมหรือแก้ไขหลอดไฟ
ได้อย่างปลอดภัย
....2.2 เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน

.................เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านมีหลายประเภททั้งที่ให้แสงสว่าง ความร้อน และประเภทที่ใช้มอเตอร์ อุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละอย่างจะมีวิธีใช้และการบำรุง
รักษาที่แตกต่างกัน ดังนั้น ผู้ใช้จะต้องรู้จักวิธีใช้อย่างถูกต้องปลอดภัย ประเภทของเครื่องใช้ไฟฟ้า มีดังนี้

.................... 2.2.1 เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทให้ความร้อนที่ควรรู้จัก คือ

................................. 1) เตารีดไฟฟ้า เตารีดไฟฟ้ามีหลายแบบ แบบที่นิยมใช้คือ แบบปรับความร้อนโดยอัตโนมัติธรรมดา และแบบปรับความร้อน
อัตโนมัติมีไอน้ำ
........ส่วนประกอบของเตารีดไฟฟ้า แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ

.......... 1. ส่วนที่ให้ความร้อน ประกอบด้วย ลวดนิโครม ซึ่งเป็นโลหะผสมระหว่างนิกเกิลกับโครเมียม ซึ่งเป็นโลหะที่มี
ความต้านทานสูง และจุดหลอมเหลวสูงเป็นตัวจ่ายความร้อน และแผ่นไมก้า ซึ่งเป็นฉนวนความร้อน
...........2. ส่วนที่ควบคุมความร้อน หรือที่เราเรียกว่า เทอร์โมสตาร์ต ประกอบด้วยโลหะที่มีความจุความร้อนต่างกัน 2 แผ่น ประกบ
ติดกัน เมื่อได้รับความร้อนเท่ากัน การขยายตัวจะต่างกัน ทำให้แผ่นโลหะโค้งขึ้น วงจรปิด กระแสไฟฟ้าไม่ไหลผ่าน เมื่ออุณหภูมิลดลง
แผ่นโลหะก็จะกลับเหมือนเดิม วงจรเปิด กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ ซึ่งการทำงานจะเป็นดังนี้ตลอดการใช้งาน
2.2.2 หม้อหุงข้าวไฟฟ้า มีหลายแบบแตกต่างกันไปตามบริษัทผู้ผลิต ส่วนประกอบของหม้อหุงข้าวไฟฟ้า มีดังนี้
..................หลักในการทำงาน
...............หม้อหุงข้าวไฟฟ้าประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ

- ส่วนที่ให้ความร้อน ประกอบไปด้วยแผ่นโลหะที่มีความต้านทานสูง และจุดหลอมเหลวสูง

- ส่วนควบคุมอุณหภูมิหรือเทอร์โมสตาร์ต ประกอบด้วยโลหะที่มีความจุความร้อนต่างกัน 2 แผ่นประกบติดกันอยู่

............... การทำงานเมื่อปล่อยกระแสไฟฟ้าผ่านเข้าไปในหม้อหุงข้าว ไฟฟ้าจะทำให้แผ่นความร้อนส่งผ่านพลังงานความร้อนไปยังหม้อใน และเมื่อ
อุณหภูมิสูงจนถึงที่กำหนดไว้ เทอร์โมสตาร์ตก็จะตัดวงจร ทำให้ไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลในวงจรที่ผ่านแผ่นความร้อน

....2.3 เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทใช้มอเตอร์

.....................2.3.1 พัดลมไฟฟ้า พัดลมไฟฟ้ามีหลายแบบ หลายบริษัทผู้ผลิต เช่น แบบตั้งโค๊ะ แบบตั้งพื้น แบบโคจร เป็นต้น
....2.4 เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทให้แสงสว่าง ไฟฟ้าแสงสว่างที่นิยมใช้ในบ้านพักอาศัยมีอยู่ 2 แบบ คือ

...................... 2.4.1 หลอดชนิดไส้ (Incandescent Lamp) หมายถึง หลอดไฟฟ้าที่ไส้หลอดทำด้วยโลหะทังสเตนภายในเป็นสูญญากาศ การใช้
จะต้องเสียบลงในขั้วหลอด ซึ่งมีทั้งแบบเกลียว และแบบเขี้ยว หลอดไฟฟ้าขนาดต่าง ๆ บอกกำลังไฟฟ้าเป็นวัตต์
......................2.4.2 หลอดวาวแสงหรือหลอดฟลูออเรสเซนต์ ....เป็นหลอดมีไส้อีกชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ คือ รางหลอด ขั้วหลอด
บัลลาสต์ และสตาร์ตเตอร์สวิตช์ ซึ่งต่อเป็นวงจร
......1) บัลลาสต์ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของหลอดวาวแสง เพราะเป็นตัวจำกัดกระแสไฟฟ้า ทำให้หลอดมีอายุยืน มีขนาด
40 วัตต์ 32 วัตต์ (สำหรับหลอดกลม) และ 20 วัตต์ ปัจจุบันมีนโยบายประหยัดพลังงาน บริษัทได้ผลิตบัลลาสต์ชนิดประหยัด
พลังงานไฟฟ้า เรียกว่า “โลลอสบัลลาสต์” (Low Loss Ballast) เป็นบัลลาสต์ที่มีการสูญเสียกำลังงานไฟฟ้าต่ำกว่าบัลลาสต์
ธรรมดา เป็นการประหยัดไฟฟ้าได้ 4 - 6 วัตต์ต่อ 1 หลอด คิดเป็น 40 เปอร์เซนต์ของบัลลาสต์แบบเดิม
......2) สตาร์ตเตอร์ เป็นอุปกรณ์ประกอบวงจรหลอดวาวแสง ขาหลอดจะออกแบบไว้ใส่สตาร์ตเตอร์ โดยเฉพาะสตาร์ตเตอร์มี
หน้าที่ต่อวงจร เพื่ออุ่นไส้หลอดเกิดอิเล็กตรอนไหลในหลอด แล้วสตาร์ตเตอร์จะตัดวงจรโดยอัตโนมัติโดยอาศัยหลักการขยายตัวของ
โลหะต่างชนิดกัน เรียกว่า แผ่นไบเมทอล (Bimetallic strip)
การทำงานของหลอดไฟฟ้า

............. ภายในหลอดฟลูออเรสเซนต์ สูบอากาศออกให้เหลือความดันประมาณ 1/6 ของบรรยากาศ แล้วหยดไอปรอทลงไป ผนังหลอด
ฉาบสารเรืองแสง (ฟลูออ) เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านวงจรผ่านบัลลาสต์ จะทำให้เกิดแรงดันกระแสไฟฟ้าสูง อิเล็กตรอนจะหลุดออกจาก
ไส้หลอดด้านหนึ่งผ่านหลอดไปยังอีกขั้วหลอดที่อยู่ตรงข้าม ซึ่งช่วงนี้บัลลาสต์จะลดแรงดันกระแสไฟฟ้าลง สตาร์ตเตอร์สวิตช์ก็เปิดวงจร
ไฟฟ้า ขณะที่อิเล็กตรอนผ่านและชนโมเลกุลของไอปรอท ทำให้เกิดแสงอัลตราไวโอเลต ซึ่งทำให้เกิดการเรืองแสงในหลอด

หลอดวาวแสงหรือหลอดฟลูออเรสเซนต์

............. มีขนาดต่าง ๆ เช่น 20 วัตต์ 32 วัตต์ และ 40 วัตต์ ปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตได้คิดประดิษฐ์หลอดไฟฟ้าแบบประหยัดขึ้นเพื่อโครงการ
ประหยัดพลังงานคือ

1. หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (หลอดตะเกียบ)

2. หลอดประหยัดไฟฟ้า (แบบผอม) ขนาด 18 วัตต์ แทนหลอดไฟฟ้าขนาด 20 วัตต์ (แบบอ้วน) ซึ่งประหยัดไฟฟ้า 2 วัตต์ คิดเป็น
..... 10 เปอร์เซนต์ของหลอดอ้วน (20 วัตต์) ซึ่งให้แสงสว่างเท่ากัน

3. หลอดประหยัดไฟ 36 วัตต์ (หลอดผอม) แทนหลอดไฟฟ้าแบบอ้วน (40 วัตต์) ประหยัดไฟฟ้า 4 วัตต์ คิดเป็น 40 เปอร์เซนต์
..... ของหลอดอ้วน (40 วัตต์) ซึ่งให้แสงสว่างเท่ากัน

3 การใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด
การประหยัดพลังงานไฟฟ้าอาจจะทำได้ดังนี้

1. ใช้หลอดวาวแสงแบบประหยัด (หลอดผอม)

2. ปิดไฟฟ้าเมื่อไม่ใช้งาน ก่อนถอดปลั๊กไฟต้องปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าก่อนเสมอ

3. ใช้แสงสว่างเท่าที่จำเป็น

4. ใช้หลอดไฟฟ้าวัตต์ต่ำ

5. ออกแบบโคมไฟฟ้าที่มีกำลังสะท้อนแสงสูง

6. หมั่นทำความสะอาดโคมไฟฟ้า

7. หลีกเลี่ยงใช้สีทึบแสงในอาคารต่าง ๆ

8. ประหยัดไฟฟ้าในระบบทำความเย็น
.................- เลือกใช้ตู้เย็นขนาดต่ำพอเหมาะหรือเลือกใช้ตู้เย็นแบบประหยัดไฟฟ้า
.................- ลดภาระความร้อนของเครื่องปรับอากาศ เช่น ความร้อนจากภายนอกห้องและความร้อนภายในห้อง
.................- เลือกใช้เครื่องปรับอากาศที่เหมาะสม

9. เลือกใช้โทรทัศน์ขนาดเหมาะสม

วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

การนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้กับงานเกษตร

ความหมาย
เทคโนโลยีชีวภาพ ( Biotechnology) คือ การใช้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและผลิตผลของสิ่งมีชีวิตให้เป็นประโยชน์กับมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตสินค้า ได้แก่ ผงซักฟอกชนิดใหม่ที่มีเอนไซม์ การทำปุ๋ยไว้ใช้เองจากวัสดุเกษตรเหลือทิ้ง เช่น ฟางข้าว มูลสัตว์ การขจัดปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม เช่น ปัญหาน้ำทิ้งจากโรงงานอุสาหกรรม โดยการนำน้ำเสียไปใช้ประโยชน์แทนที่จะปล่อยทิ้งให้เน่าเหม็น รวมทั้งการถ่ายฝากตัวอ่อนสัตว์เพื่อให้ได้สัตว์พันธุ์ดีไว้ใช้ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าเดิม เป็นต้น

ลักษณะประโยชน์
เทคโนโลยีชีวภาพมีขอบเขตที่กว้างขวาง ครอบคลุมตั้งแต่เทคโนโลยีที่ใช้ในการเกษตรกรรมจนถึงอุตสาหกรรม การแพทย์ การผลิตพลังงาน และการรักษาสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตสัตว์ พืช จุลินทรีย์ รวมทั้งผลิตผลจากไขมัน เช่น นม น้ำมัน ยารักษาโรค ฯลฯ ล้วนจัดเป็นเทคโนโลยีชีวภาพทั้งสิ้น เทคโนโลยีที่ใช้ในการแปรรูปและเพิ่มคุณค่าของสินค้าต่างๆที่มาจากสิ่งมีชีวิต หรือ ที่ใช้หลักการของวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต ล้วนจัดเป็นเทคโนโลยีชีวภาพเช่นเดียวกัน



เทคโนโลยีชีวภาพ
งานเกษตรเทคโนโลยีชีวภาพ

อ้างอิงเทคโนโลยีชีวภาพ

เทคโนโลยีชีวภาพและการแพทย์
การนำเทคโนโลยีชีวภาพ เกษตร


ที่จะนำมาใช้ในวงกว้าง


นำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย


วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การติดตา

การติดตา

คือ การเชื่อมประสานส่วนของต้นพืชเข้าด้วยกัน เพื่อให้เจริญเป็นพืชต้น เดียวกัน โดยการนำแผ่นตาจากกิ่งพันธุ์ดี ไปติดบนต้นตอ การติดตาจะมีวิธีการทำ 2 วิธี คือ วิธีการติดตาแบบลอกเนื้อไม้ และแบบไม่ลอกเนื้อไม้ ซึ่งในทีนี้จะแนะนำเฉพาะขั้นตอน การติดตาแบบลอกเนื้อไม้ ดังนี้





1. เลือกต้นตอในส่วนที่เป็นสีเขียวปนน้ำตาล แล้วกรีดต้นตอจากบนลงล่าง 2 รอย ห่างกันประมาณ 1 ใน 3 ของเส้นรอบวงของต้นตอ ความยาวประมาณ 6 - 7 เซนติเมตร





2. ตัดขวางรอยกรีดด้านบน แล้วลอกเปลือกออกจากด้านบนลงด้านล่าง ตัดเปลือก ที่ลอกออกให้เหลือด้านล่างยาวประมาณ 1 เซนติเมตร





3. เฉือนแผ่นตายาวประมาณ 7 - 10 เซนติเมตร ลอกเนื้อไม้ออกแล้วตัดแผ่นตา ด้านล่างทิ้ง





4. สอดแผ่นตาลงไปในเปลือกต้นตอ โดยให้ตาตั้งขึ้น แล้วพันด้วยพลาสติกให้แน่น





5. ประมาณ 7 - 10 วัน จึงเปิดพลาสติกออก แล้วพันใหม่ โดยเว้นช่องให้ตาโผล่ ออกมา ทิ้งไว้ประัมาณ 2 - 3 สัปดาห์ จึงตัดยอดต้นเดิมแล้วกรีดพลาสติกออก




การเสียบยอด

การเสียบยอด

คือ การเชื่อมประสานเนื้อเยื่อของต้นพืช 2 ต้นเข้าด้วยกัน เพื่อให้เจริญเติบโต เป็นต้นเดียวกัน โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้

1. ตัดยอดต้นตให้สูงจากพื้นดิน ประมาณ 10 เซนติเมตร แล้วผ่ากลางลำต้นของ ต้นตอให้ลึกประมาณ 3 - 4 เซนติเมตร





2. เฉือนยอดพันธุ์ดีเป็นรูปลิ่มยาวประมาณ 3 - 4 เซนติเมตร





3. เสียบยอดพันธุ์ดีลงในแผลของต้นตอ ให้รอยแผลตรงกัน แล้วใช้เชือกมัดด้านบน และล่างรอยแผลต้นตอให้แน่น





4. คลุมต้นที่เสียบยอดแล้วด้วยถุงพลาสติก หรือนำไปเก็บไว้ในโรงอบพลาสติก

5. ประมาณ 5 - 7 สัปดาห์ รอยแผลจะประสานกันดี และนำออกมาพักไว้ในโรง เรือนเพื่อรอการปลูกต่อไป






การปักชำ

การปักชำ


การปักชำ คือการใช้ส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ราก ใบ หรือ ลำต้น ไปปักชำ และส่วนของพืชเหล่านี้จะเจริญงอกงามเป็นลำต้นต่อไป

การปักชำเป็นวิธีขยายพันธุ์พืชที่ดีวิธีหนึ่งซึ่งมีข้อดี ดังนี้

1. ประหยัดค่าใช้จ่าย

2. ขยายพันธุ์ได้ปริมาณมาก

3. ทำได้ง่ายโดยไม่ต้องอาศัยเทคนิคหรือความสามารถมาก

4. ต้นพืชเจริญเติบโตเร็ว โดยใช้ระยะเวลาไม่นาน

5. พืชต้นใหม่ที่ได้จะมีลักษณะเหมือนต้นเดิมทุกประการ



วัสดุที่ใช้ในการปักชำ

กระบะ ดิน ทราบ แกลบ ปุ๋ยคอก ขุยมะพร้าว ใบไม้ผุ



การปักชำสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

1. การปักชำราก เป็นการเอารากของพืชมาปักชำ อาจปักลงไปในดิน ในทราย หรือในเถ้าแกลบก็ได้ เพื่อส่วนของรากนั้นงอกเป็นลำต้นต่อไป พืชที่ใช้รากปักชำ เช่น มันเทศ สน สาเก เข็มอินเดียเป็นต้น วิธีการชำรากทำได้ ดังนี้

1.1 ตัดรากไม้ออกเป็นท่อนๆ

1.2 วางรากบนดิน การปักชำรากไม่นิยมปักในแนวตั้ง แต่นิยมวางในแนวนอน หรือวางในแนวเฉียงเล็กน้อย





2. การปักชำใบ โดยทั่วไปแล้วใบจะแตกเป็นกิ่งไม่ได้ แต่มีพืชบางชนิดสามารถนำใบมาปักชำให้เจริญเติบโตเป็นต้นต่อไปได้ เช่น ลิ้นมังกร กุหลาบหิน คว่ำตายหงายเป็น เป็นต้น การปักชำใบมี 4 วิธี



วิธีที่ 1 การปักชำโดยใช้ใบ

ให้นำใบที่ไม่ใช่ใบอ่อนมาตัดเป็นส่วนๆ หรือทั้งใบแล้วนำไปวางเป็นวัสดุ เช่น ทราย หรือดิน โดยให้ด้านบนของใบหงายขึ้น พืชที่นิยม เช่น คว่ำตายหงายเป็น กุหลาบหิน



วิธีที่ 2 การปักชำโดยใช้ก้านใบ

ให้ตัดก้านใบให้หลุดออกจากกิ่งแล้วนำไปปักชำก็จะเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่ได้ เช่น กุหลาบหิน



วิธีที่ 3 การปักชำโดยใช้ก้านใบที่ส่วนของกิ่ง

ให้เอาใบมา โดยเฉือนส่วนของกิ่งให้มีตาติดมาด้วย (มิใช่นำมาทั้งกิ่ง) แล้วนำไปปักชำ ส่วนตาที่ติดมากับกิ่งก็จะเจริญเติบโตเป็นต้นต่อไป วิธีนี้นิยมใช้กับ ฟิโลเดนดรอน ต้นยางอินเดีย



วิธีที่ 4 การใช้ใบติดกิ่งมาปักชำ

ให้ตัดกิ่งที่จะนำมาปักชำ โดยกิ่งนั้นต้องมีตาเดียว และมีใบติดมาด้วยแล้วนำส่วนของกิ่งบางส่วนปักลงในดินให้ใบ และกิ่งส่วนหนึ่งโผล่ขึ้นมา เพียงเล็กน้อย พืชที่นิยมขยายพันธุ์แบบนี้ ได้แก่ ฟิโลเดนดรอน



การปักชำกิ่ง

เป็นวิธีที่นิยมกันมากและทำกันมานานแล้ว เราไม่จำเป็นต้องพิถีพิถันกับวัสดุที่ใช้ในการปักชำมากนัก ปัจจุบันนิยมกัน แพร่หลายเพราะประหยัดค่าใช้จ่าย ใช้ระยะเวลาสั้น และได้ลักษณะพันธุ์เดิม การปักชำกิ่งแบ่งเป็น 3 ประเภท

1. การปักชำกิ่งประเภทที่มีเนื้ออวบน้ำ เช่น ฤาษีผสม กิ่งชนิดนี้จะอ่อน บอบบาง และช้ำง่าย ฉะนั้นจึงต้องการความประณีต ในการปฏิบัติ คือต้องระวังในเรื่องความชื้น แสง และอุณหภูมิ

2. การปักชำกิ่งที่มีความแข็งของเนื้อไม้ปานกลาง เช่น ว่านกวนอิม อายุของกิ่งประมาณ 3 - 6 เดือน ผิวเปลือกของกิ่งมี สีอมเขียว ยังไม่เป็นสีน้ำตาล กิ่งประเภทนี้มีเนื้อไม้อ่อนไม่แข็งแรงนัก ฉะนั้นจึงควรระมัดระวังเรื่องน้ำ อุณหภูมิ และแสงสว่างให้มาก เพราะกิ่งประเภทนี้จะเหี่ยวแห้งได้ง่าย

2. การปักชำไม้ที่มีอายุเกิน 1 ปีขึ้นไป วิธีนี้นิยมกันมาก การเลือกกิ่งไม้ที่จะนำมาปักชำ ควรเลือกกิ่งที่มีสีน้ำตาล ก่อนปักชำควร ปักกิ่งชำให้มีตาอย่างน้อย 2-3 ตา การตัดควรตัดเป็นท่อน ๆ ขนาด ยาว 6-8 เซนติเมตร การตัดท่อนปลายกิ่งให้ตัดเหนือข้อ ส่วนท่อนโคนให้ตัดต่ำกว่าข้อ โดยตัดให้เฉียง เราไม่ควรตัดตรงข้อพอดี เพราะจะทำให้กิ่งสูญเสียอาหารไป นอกจากนี้ บริเวณข้อยังมีเนื้อเยื่อ อัดตัวแน่นและแข็งแรง ช่วยป้องกันการระเหยของน้ำในกิ่งได้เป็นอย่างดี



การเตรียมกระบะชำ

ควรทำกระบะ ขนาดกว้าง 50 เซนติเมตร ยาว 50 เซนติเมตร สูง 20 เซนติเมตรชั้นล่างวางอิฐหรือกรวด ชั้นบนใส่ทรายหยาบหรือเถ้าแกลบให้เหลือขอบกระบะไว้ 5 เซนติเมตร รดน้ำให้ชุ่มการปักชำกิ่ง หรือยอด ควรหาไม้สำหรับใช้ในการนำร่องก่อน ปักทำมุม 45 องศา แล้วจึงนำกิ่งที่จะปักชำใส่ลงไป ให้ส่วนโคนที่ตัดเป็นรูปเฉียงตรงรอยตัดคว่ำลง ให้ส่วนยอดโผล่พ้นวัสดุชำอย่างน้อย 1-2 ตา การดูแลกิ่งชำ รดน้ำกิ่งชำให้ชุ่ม เช้า เย็น ทุกวันจะช่วยให้กิ่งปักชำออกรากได้ดี เมื่อปักชำไปได้ประมาณ 3-4 สัปดาห์ รากจะงอก จึงย้ายไปปลูกในแปลง หรือในกระถางที่เตรียมไว้โดยใช้ช้อนปลูกแซะ หรือตักไปปลูก

การทาบกิ่ง

การติดตา


เป็นการต่อต้นพืชแบบหนึ่งที่ใช้กิ่งพันธุ์ดีเพียงตาเดียว พอจะแบ่งวิธีติดตาโดยเฉพาะวิธีที่ใช้กันทั่วๆ ไปได้ ๓ วิธี คือ



๑. การติดตาแบบตัวที (T. budding)

สิ่งที่ต้องพิจารณาในการติดตาต้นพืชแบบ ตัวที

๑. ต้นตอจะต้องมีเปลือกล่อนสามารถลอกเปลือกต้นตอได้ง่าย

๒. ต้นตอไม่ควรมีขนาดโตเกินไป ควรจะมีขนาดเท่าดินสอดำหรือมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณไม่เกิน ๑/๒ นิ้ว

๓. ไม่เป็นพืชที่มีเปลือกบาง หรือเปลือกเปราะ หรือมีเปลือกหนาเกินไป

๔. เป็นวิธีที่ใช้ในการติดตาต้นพืชทั่วๆ ไปเช่น ใช้กับกุหลาบ พุทรา ส้ม เป็นต้น

วิธีติดตาแบบตัวที

ก. การเตรียมแผลบนต้นตอ

๑. เลือกต้นตอบริเวณที่เป็นปล้องแล้วกรีดเปลือกให้ถึงเนื้อไม้เป็นรูปตัวที (T) โดยให้หัวของตัวทีที่กรีดยาวประมาณ ๑/๒ นิ้ว และความยาวของตัวทียาว ๑ - ๑ ๑/๒ นิ้ว ทั้งนี้แล้วแต่ขนาดของต้นตอ

๒. ใช้ปลายมีดแงะบริเวณหัวตัวทีให้เปลือกเผยอเล็กน้อย แล้วล่อนเปลือกของต้นตอด้วยปลายเขาที่ติดอยู่ที่ด้ามมีด

ข. การเตรียมกิ่งพันธุ์ดี

๑. เฉือนกิ่งพันธุ์ดีเป็นรูปโล่ให้ติดเนื้อไม้เล็กน้อย ในกรณีที่พืชนั้นมียางควรจะลอกเนื้อไม้ทิ้งเพื่อให้มีบริเวณของการเกิดรอยต่อมากขึ้น

ค. การสอดกิ่งพันธุ์ดีบนต้นตอ

๑. สอดแผ่นตาลงบนแผลรูปตัวทีที่เตรียมไว้ แล้วค่อยๆ กดแผ่นตาลงไปในแผลให้สนิท และลึกราว ๑/๒ นิ้ว เหนือตา

๒. ถ้าเปลือกแผ่นตายังเหลือเลยหัวตัวทีให้ตัดส่วนที่เหลือออกพอดีกับหัวตัวที

๓. ใช้ผ้าพลาสติกที่ตัดเป็นชิ้นขนาดกว้าง๑-๑.๕ ซม. ยาวราว ๒๐-๒๕ ซม. พันทับแผ่นตาให้แน่น และควรพันจากข้างล่างขึ้นข้างบน

๔. หลังจาก ๑๐ วัน จึงตรวจ ถ้าตาใดยังสดก็แสดงว่าติด จึงเปิดผ้าพันตาแล้วพันใหม่ให้คร่อมตา



๒. การติดตาแบบชิพ (chip budding)

สิ่งที่ต้องพิจารณาในการติดตาแบบชิพก็คือ

๑. เป็นวิธีที่ใช้ในการติดตาต้นพืชที่ลอกเปลือกไม่ได้ เป็นพืชที่มีเปลือกบางหรือเปลือกหนาหรืออยู่ในระยะพักตัว

๒. มักใช้กับพืชที่ไม่มียาง และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นตอประมาณ ๒/๓ - ๑/๒ นิ้ว

๓. มักใช้ในการติดตา องุ่น ชบา ฯลฯ

วิธีติดตา ปฏิบัติดังนี้ (modified chip)

ก. การเตรียมแผลบนต้นตอ

๑. เลือกต้นตอที่เปลือกติด หรือที่ชะงักการเจริญ

๒. เฉือนต้นตอเฉียงลงให้เข้าเนื้อไม้เล็กน้อย และยาวประมาณ ๑ นิ้ว

๓. เฉือนตัดขวางให้จดโคนแผลที่เฉือนครั้งแรก โดยให้รอยเฉือนนี้ทำมุม ๔๕° กับลำต้นแล้วแกะชิ้นส่วนของพืชที่เฉือนออก

ข. การเตรียมกิ่งพันธุ์ดี

เฉือนแผ่นตาบนกิ่งพันธุ์ดีให้มีความยาวเท่ากับรอยแผลที่เตรียมบนต้นตอ โดยกะให้ตาอยู่ตรง

กลางพอดี

ค. การสอดแผ่นตา

๑. ประกบแผ่นตาบนต้นตอ โดยให้เยื่อเจริญด้านใดด้านหนึ่ง หรือทั้งสองด้านสัมผัสกับเยื่อเจริญของต้นตอ

๒. ใช้ผ้าพลาสติกพันตา เช่นเดียวกับการติดตาแบบตัวที



๓. การติดตาแบบเพลท (Plate budding)

สิ่งที่ต้องพิจารณาในการติดตาแบบเพลท คือ

๑. มักใช้กับต้นตอที่มีขนาดโต คือ มีเส้นผ่านศูนย์กลางราว ๑/๒ - ๑ นิ้ว

๒. ต้นตอต้องลอกเปลือกได้หรือมีเปลือกล่อน

๓. เป็นพืชที่มีเปลือกหนาและเหนียวพอสมควร

๔. นิยมใช้กับพืชมียาง เช่น มะม่วง ขนุนยางพารา หรือพืชบางชนิดที่เกิดเนื้อเยื่อช้า เช่นมะขามหรือน้อยหน่า เป็นต้น

วิธีติดตาแบบเพลท

ก. การเตรียมแผลบนต้นตอ

๑. เลือกต้นตอบริเวณที่จะทำแผลให้เป็นปล้องที่เรียบและตรง

๒. กรีดเปลือกต้นตอถึงเนื้อไม้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าฐานเปิดดังภาพ

๓. เผยอเปลือกต้นตอออกจากเนื้อไม้ ทางด้านบนหรือด้านล่างของรอยกรีด แล้วลอกเปลือก ขึ้นหรือลงตามรอยกรีดที่เตรียมไว้แล้ว

ข. การเตรียมกิ่งพันธุ์ดี

เฉือนแผ่นตากิ่งพันธุ์ดีให้เป็นรูปโล่ ยาวประมาณ ๑ นิ้ว แล้วแกะเนื้อไม้ออก

ค. การสอดแผ่นตาบนแผลของต้นตอ

๑. ประกบแผ่นตาลงบนแผลของต้นตอ จัดแผ่นตาให้อยู่กลางแผลแล้วประกบแผ่นเปลือกของต้นตอทับแผ่นตา แต่ถ้าใช้ตาอ่อนจะต้องตัดแผ่นเปลือกต้นตอตอนบนออก ๓ ส่วนเหลือไว้ ๑ ส่วน

๒. พันผ้าพลาสติกเช่นเดียวกับการติดตาแบบตัวทีหรือแบบชิพ และต้องใช้พลาสติกใส เมื่อใช้ตาอ่อน



[กลับหัวข้อหลัก]



แผ่นตาที่ติดเรียบร้อยแล้ว











เฉือนแผ่นตาในกิ่งพันธุ์ดี











สอดแผ่นตาบนแผลต้นตอ










เฉือนกิ่งพันธุ์ดี









ประกบแผ่นตาลงบนแผลของต้นตอ




การตอนกิ่ง

                                                                  การตอนกิ่ง

คือ การทำให้กิ่งหรือต้นพืชเกิดรากขณะติดอยู่กับต้นแม่ จะทำให้ได้ต้นพืชใหม่ ที่มีลักษณะทางสายพันธุ์ เหมือนกับต้นแม่ทุกประการ โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
1. เลือกกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนที่สมบูรณ์ปราศจากโรคและแมลง




 
2. ควั่นกิ่ง ลอกเอาเปลือกออก แล้วขูดเยื่อเจริญที่เป็นเมือกลื่น ๆ ออก





 

3. นำตุ้มตอน (ขุยมะพร้าวที่แช่น้ำ แล้วบีบหมาด ๆ อัดลงในถุงพลาสติก ผูกปากถุงให้แน่น) มาผ่าตามความยาวแล้วนำไปหุ้มบนรอยแผลของกิ่งตอน มัดด้วยเชือกทั้งบนและล่างรอยแผล





4. เมื่อกิ่งตอนมีรากงอกแทงผ่านวัสดุ และเริ่มแก่เป็นสีเหลือง สีน้ำตาล ปลายรากมีสีขาว และมีจำนวนมากพอจึงตัดกิ่งตอนได้





5. นำกิ่งตอนไปชำในภาชนะ กระถางหรือถุงพลาสติก เพื่อรอการปลูกต่อไป